ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล๊อคเคมีค่ะ

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

1.น้ำแข็งแห้ง (dry ice)
เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง  เตรียมได้จากการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลงภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็วโดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดันบรรยากาศ ผลที่ได้คือเกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะ .....อ่านเพิ่มเติม



สมบัติของแก๊ส
  1. ไม่มีสี จะมองไม่เห็นเมื่อแก๊สรั่วแต่ในบางครั้งถ้าแก๊สรั่วออกมามากหรือน้ำแก๊สรั่วจะเห็นเป็นละอองขาว
ความจริงแล้วละอองขาวนั้นคือไอน้ำซึ่งกลั่นตัวเนื่องจากได้รับความเย็นจัดจากการระเหยของแก๊ส
2. ไม่มีกลิ่น แต่จำเป็นต้องใส่สาร เอธิลเมอร์แคบเทน” ลงไปเพื่อให้เกิดกลิ่นฉุน คล้ายก๊าซไข่เน่า และเพื่อเป็นการเตือนเมื่อเกิดแก๊สรั่วซึม
3. ไม่มีพิษ แต่ถ้าหายใจหรือสูดดมเข้าไปมาก ๆ อาจจะเกิดอาการวิงเวียนเป็นลมได้ ทั้งนี้เพราะร่ายกายได้รับก๊าซ ออกซิเจนไม่เพียงพอ
4. มีจุดเดือดที่ต่ำมาก ประมาณ องศาเซลเชียส อุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยของ ประเทศเกินกว่า 20 องศาเซลเซียล ดังนั้น.....อ่านเพิ่มเติม

สมบัติของของเหลว

1. ประกอบด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างไม่เป็นระเบียบอยู่ตลอดเวลา และมีการชนกันอยู่ตลอดเวลาในโมเลกุล

2. การเพิ่มความดันจะไม่ทำให้ของเหลวมีปริมาตรลดลง เพราะเดิมโมเลกุลอยู่ชิดกันอยู่แล้ว จึงมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลที่จะบีบอัดให้ชิดกันเข้าไปน้อย

3. ของเหลวมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมากกว่าก๊าซ จึงทำให้มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่า

4. ของเหลวมีการแพร่ได้ด้วยอัตราที่ช้ากว่าก๊าซ เพราะของเหลวมีความหนาแน่นมากกว่า.........อ่านเพิ่มเติม

บทที่5 ของแข็ง ของเหลว แก๊ส 

สมบัติของของแข็ง

 1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
4. สามารถระเหิดได้
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แตก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา.....อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558


 การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี

 การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆเราเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี  สิ่งที่แสดงอยู่ในสมการเคมีจะประกอบด้วยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นๆ รวมทั้งภาวะต่างๆของการเกิดปฏิกิริยาด้วย  สมการเคมีจะช่วยให้เราคิดคำนวณค่าต่างๆ ของการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เช่น มวลหรือน้ำหนักของสารเคมีที่ถูกใช้ไปหรือที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพลังงานและอื่น ๆ

สมการเคมี

สมการเคมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้น (อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบ 


 สารละลาย

สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
      1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น

      2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน  
บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์
มวลอะตอม
อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมที่เบาที่สุดมีมวลประมาณ 1.6 x 10-24 กรัม อะตอมที่หนักที่สุดมีมวลประมาณ 250 เท่า ซึ่งมีค่าน้อยมาก (เป็นผลคูณของ 10-24) มวลอะตอมเหล่านี้จะต้องรวมกันต่อไปเป็นมวลโมเลกุล ซึ่งทำให้ยุ่งยากในการคำนวณ จึงนิยมใช้มวลเปรียบเทียบที่เรียกว่า มวลอะตอมหรือน้ำหนักอะตอม     มวลอะตอม  คือ มวลเปรียบเทียบที่บอกให้ทราบว่ามวลของธาตุ อะตอมหนักเป็นกี่เท่าของมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม
    มวลของธาตุ อะตอม คือ มวลที่แท้จริงของอะตอมนั้น ๆ อะตอม
    มวลของธาตุมาตรฐาน อะตอม คือ มวลของธาตุที่ถูกใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งทุกอะตอมต้องมีค่าเท่ากันหมดจึงเรียกว่ามวลมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 1.66 x 10-24 กรัมหรือ 1 amu (atomic mass unit)